วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

 ตะกร้อชินลง (chinlone)

             chinlone ออกเสียงว่า “ชินลง” หรือ “ชินโลน” เป็นศิลปะแบบดั่งเดิมหรือกีฬาโบราณ ที่มีมานานกว่า 1,500 ปี ของประเทศพม่า เป็นการผสมผสานกันระหว่างกีฬากับการเต้นรำ เล่นกันเป็นทีม ไม่มีคู่ต่อสู้ แต่ละท่าในการเล่นต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักเพราะเป็นลีลาที่ยากมาก แฝงด้วยทักษะ ความสมดุล มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเล่นเป็นทีมจะมีผู้เล่น 6 คน โดยมีหนึ่งคนอยู่ตรง กลางคอยคอลโทรลเกม หากลูกตกพื้นจะเป็นลูกตาย ต้องเริ่มต้นเล่นกันใหม่ นิยมเล่นกันทั้งเพศชาย แหละ หญิง ในปัจจุบันมีการนำออกแสดงโชว์เป็นอาชีพหนึ่งอย่างแพร่หลาย ชินลง ก็เป็นตะกร้อวง แบบเดียวกับตะกร้อวงของไทย แต่มีตัวเอกเด่นเข้าเล่นโชว์ลีลากลางวง ตำแหน่งนี้เรียวกันว่า "มินดา" ซึ่งแปลว่า "เจ้าชาย"
               ไปเป็นเจ้าชาย...ในแคว้นศัตรู เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด รางวัลยอดเยี่ยม ประเภท "สารคดี" ประจำปี 2553 เขียนโดยคามิน คมนีย์ ถีอได้ว่าเป็นผู้นำความรู้เรื่องกีฬาประจำชาติพม่ามาเปิดเผยให้แก่สังคมได้อย่างลึกซึ้งที่สุด
                เพียงเพราะอยากพิสูจน์ว่า เกร็ก แฮมิลตัน ยกย่อง "ชินลงหรือตะกร้อพม่า" เหนือ "ตะกร้อไทย" จริง หรือไม่จริง ผู้เขียนถึงกับต้องเดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เพือชมการเล่นตะกร้อพม่า หรือ ชินลง ในเทศกาลวาโซชินลงกันเลยทีเดียว ก็ใครจะยอมให้ชนชาติที่ถือว่าเป็นศัตรูคู่แค้นกันมาหลายยุคหลายสมัย อยู่ "เหนือกว่า" ได้ ไม่ว่าเรื่องเล็กๆ อย่างกีฬาประจำชาติเช่นนี้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนพบเห็น ไม่เพียงแต่วัฒนธรรม วิถีชีวิต และธรรมชาติของบ้านเมือง เขายังได้สัมผัสถึง "น้ำใจ" ของผู้คนชาวพม่า ที่ออกจะภาคภูมิใจในกีฬาประจำชาติของตน
และเต็มอกเต็มใจ สอนและฝึกหัด ให้แก่นักตะกร้อจากเมืองไทยคนนี้ ถึงขนาดพยายามปั้นให้คนไทยคนนึงที่เ่ล่นตะกร้อเป็นกลายเป็น "มินดา" เจ้าชายกลางวงชิงลงให้ได้

ชินลง ก็เป็นตะกร้อวง แบบเดียวกับตะกร้อวงของไทย แต่มีตัวเอกเด่นเข้าเล่นโชว์ลีลากลางวง ตำแหน่งนี้เรียวกันว่า "มินดา" ซึ่งแปลว่า "เจ้าชาย" และลีลาลูกศอก ลูกส้น ลูกเข่า บ่วงมือ ของนักตะกร้อไทยก็สร้างความแปลกตาและฮือฮาแก่ชาวพม่าเช่นกัน บรรดาชาวพม่าที่ได้เห็นลีลาของเขาแล้ว ก็ให้กำลังใจกันว่า ฝีมืออย่างนี้เป็นมินดาได้ แต่ว่า ต้องฝึกหัดท่าแม่ไม้ต่างๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และสวยงามด้วย แล้วเขาก็ได้ร่วมแสดงฝีมือในเทศกาลสำคัญครั้งนั้นด้วย หลังจากกลับจากพม่าในปีแรก คามินก็เริ่มฝึกหัดเล่นท่าแบบพม่า ตามภาพหรือวีดีโอที่ได้เห็น
รวมทั้งติดต่อกับเกร็กผู้ทำให้เขาได้รู้จักชินลงผ่านอีเมล์โต้ตอบกันไปมา 
เขากลับไปพม่าในปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 เพื่อเรียนรู้ ฝึกหัด และเป็น "มินดา" จนได้ เขาเดินทางไปถึงประเทศเมียร์มาร์ ได้เห็น ได้เรียนรู้ ได้ฝึกหัด และหลงรัก "ชินลง" กระทั่งหมายมั่นปั่นมือว่าจะเป็น "มินดา หรือ เจ้าชาย" เล่นกลางวงชินลงในเทศกาลประจำปีให้ได้ 

          และนี่คือที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ "ไปเป็นเจ้าชาย" ก็คือ เป็นผู้เล่นตำแหน่ง "มินดา" ตัวเอกในวงชินลง "ในแค้วนศัตรู" ก็คือ ในประเทศเมียนมาร์ ที่มีประวัติศาสตร์ด้านการรบกับไทยมายาวนานนั่นเอง


                             

ตะกร้อลอดห่วง

            กีฬาแห่งน้ำใจและไมตรี ไม่มีแบ่งเพศแบ่งวัยและฝีมือ เล่นที่ไหน เมื่อไหร่ กับใครก็ได้ ขอให้มีลูกหวายกลมๆ เพียงลูกเดียวตะกร้อลอดห่วง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตะกร้อลอดบ่วงหรือตะกร้อห่วงชัย เป็นกีฬาที่มีห่วงอยู่เบื้องสูง    ผู้เล่นจะเตะตะกร้อให้โด่งขึ้นไปเข้าห่วง สนามที่ใช้ในการแข่งขันเป็นพื้นราบกว้าง 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร อยู่กลางแจ้ง จะแขวนห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ห่วง ขนาดเท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลางปากห่วงกว้าง 45 เซนติเมตร แขวนสูงจากพื้น 5.75 เมตร มีผู้เล่น 1 ชุด มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 6 คนและไม่เกิน 7 คน ต้องเตะให้ตะกร้อเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดในเวลา 40 นาที ซึ่งใช้ท่าเตะ 30 ท่า แต่ละท่ามีคะแนนมากน้อยตามความยากง่าย
         ตะกร้อลอดห่วง เพราะเป็นกีฬาไทยๆ ที่มีความสวยงามทุกท่วงท่า และยังต้องมีทักษะเฉพาะด้านอีกด้วย
หลายคนอาจมองตะกร้อลอดห่วงเป็นกีฬาโบราณที่มีแต่คนแก่ๆ เล่นแถมยังเล่นยาก แต่ในตอนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาให้เหมาะสมกับผู้เล่นทุกกลุ่ม ทำให้มีผู้สนใจหันมาเล่นตะกร้อลอดห่วงอย่างแพร่หลายมากขึ้น
            ตะกร้อลอดห่วง เป็นกีฬาของไทยอย่างแท้จริง ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีที่มาจากการทำโทษประชาชนที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งสมัยนั้นจะถูกลงโทษด้วยการจับยัดใส่ลูกตะกร้อที่มีขนาดใหญ่และให้ช้างเตะไปมา ต่อมาจึงได้ค่อยๆ ประยุกต์เป็นกีฬาตะกร้อลอดห่วงขึ้น ซึ่งมีนายยิ้ม สีหน หัวหน้าทีมวัดสิบ เป็นผู้บุกเบิกคิดค้นกติกาวิธีการเล่นจนเป็นตะกร้อลอดห่วงสืบจนถึงปัจจุบัน
            แรกเริ่มเดิมทีลูกตะกร้อทำมาจากหวาย แต่เพราะมีความหนัก แข็ง ทั้งรูปทรงยังเปลี่ยนตามสภาพอากาศได้อีก จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นพลาสติกเพื่อให้มีมาตรฐานและยุติธรรมในการแข่งขันดัง ที่เห็นทุกวันนี้.
 สนามแข่งขัน
สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ วัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 4 เซนติเมตร มีห่วงชัยแขวนอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของวงกลม โดยเชือกที่แขวนห่วง มีความยาวจากรอกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
2. ห่วงชัย
ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากภายใน กว้าง 45 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้ จะทำด้วย โลหะ หวาย หรือไม้ ก็ได้ แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรง และหุ้มด้วยวัสดุที่มีความนุ่มแล้ว วัดโดยรอบไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีถุงตาข่ายทำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง
ห่วงชัย ต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงชัย ต้องได้ระดับสูงจากพื้นสนาม ดังนี้
-ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปีและหญิง ความสูงของห่วงชัย  5.50 เมตร
- ประเภทประชาชน ความสูงของห่วงชัย   5.70 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อให้สานด้วยหวาย 9-11 เส้น หรือผลิตด้วยใยสังเคราะห์ ซึ่งให้มีขนาดและน้ำหนัก ดังนี้
- ประเภทเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี และหญิง   ขนาดเส้นรอบวง ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร  และน้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม
- ประเภทประชาชน ขนาดเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และน้ำหนักไม่เกิน 240 กรัม
ห้ฝ่ายจัดการแข่งขัน จัดลูกตะกร้อไว้ ให้ผู้เข้าแข่งขัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันนำลูกตะกร้อมาเอง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง หากลูกตะกร้อที่นำมาเองไม่ถูกต้องตามกติกา ต้องใช้ลูกตะกร้อที่คณะกรรมการฯ จัดไว้ ทำการแข่งขัน









ประวัติเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ


         การแข่งขันตะกร้อตะกร้อ เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออก กำลังกายทุกสัดส่วน ฝึกความว่องไว ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"

          ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

         ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
         ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
         ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
         ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

ประวัติกีฬาตะกร้อในประเทศไทย

        ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
ความหมาย คำว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ “

วิวัฒนาการการเล่นกีฬาตะกร้อ

       การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร

ตะกร้อนั้นมีมากมายหลายประเภท เช่น

- ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง – ตะกร้อพลิกแพลงเป็นต้น
เมื่อมีการวางกติกาและท่าทางในการเล่นอย่างลงตัวแล้วก็เริ่มมีการแข่งขันกันเกิดขึ้นในประเทศไทยตาม
ประวัติของการกีฬาตะกร้อตั้งแต่อดีตที่ได้บันทึกไว้ดังนี้
พ.ศ. 2472 กีฬาตะกร้อเริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกภายในสมาคมกีฬาสยาม
พ.ศ. 2476 สมาคมกีฬาสยามประชุมจัดร่างกติกาในการแข่งขันกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายและเปิดให้มีการแข่งขันในประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2479 ทางการศึกษาได้มีการเผยแพร่จัดฝึกทักษะในโรงเรียนมัธยมชายและเปิดให้มีแข่งขันด้วย
พ.ศ. 2480 ได้มีการประชุมจัดทำแก้ไขร่างกฎระเบียบให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ เจ้าพระยาจินดารักษ์ และกรมพลศึกษาก็ได้ออกประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2502 มีการจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ขึ้นที่กรุงเทพฯ มีการเชิญนักตะกร้อชาวพม่ามาแสดงความสามารถในการเล่นตะกร้อพลิกแพลง
พ.ศ. 2504 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 2 ประเทศพม่าได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน นักตะกร้อของไทยก็ได้ไปร่วมแสดงโชว์การเตะตะกร้อแบบพลิกแพลงด้วย
พ.ศ. 2508 กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย ได้มีการบรรจุการเตะตะกร้อ 3 ประเภท เข้าไว้ในการแข่งขันด้วยก็คือ
- ตะกร้อวง – ตะกร้อข้ามตาข่าย – ตะกร้อลอดบ่วง
อีกทั้งมีการจัดประชุมวางแนวทางด้านกติกาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อสะดวกในการเล่นและการเข้าใจของผู้ชมในส่วนรวมอีกด้วย
พอเสร็จสิ้นกีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 กีฬาตะกร้อได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก บทบาทของประเทศมาเลเซียก็เริ่มมีมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมในการประชุมตั้งกฎกติกากีฬาตะกร้อประเภทข้ามตาข่าย หรือที่เรียกว่า ” เซปักตะกร้อ ” และส่งผลให้กีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

กติกาการเล่นเซปักตะกร้อ กีฬาตะกร้อ

1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน

2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
     2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
     2.2 หน้าซ้าย
     2.3 หน้าขวา

3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้

4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน

5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้

6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้

7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 2 ครั้งๆ ละ 1 นาที

8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

แนะนำอุปกรณ์กีฬาตะกร้อ


 ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )


-1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
-1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
-1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
-1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
-1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร  แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )

ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )

-2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
-2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง  ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )

-3.1  ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน  มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
-3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก      ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง  1.55 เมตร ( ผู้หญิง  1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL )




ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )


แนะนำการดูกีฬาตะกร้อมารยาทในการเล่นที่ดี



การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ

1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา

มารยาทของผู้ชมที่ดี


1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน
3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก
6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ
7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร
10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ



พื้นฐานการเล่นตะกร้อ




การแข่งเซปักตะกร้อ








 




ข้อคิดในการเล่นตะกร้อ
1.) อดทนและพยายามที่จะเล่นให้ตัวเราพัฒนา
2.)ไม่ควรดูถูกผู้ที่เล่นอ่อนกว่าเรา
3.)ควรดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้บาดเจ็บจากการเล่นตะกร้อ
4.)ก่อนและหลังเล่นตะกร้อ ควรอบอุ่นร่างกายให้พร้อม เพื่อลดอาการบาดเจ็บ.
5.)ตะกร้อไม่ใช่กีฬาที่เล่นเพื่อชัยชนะ แต่เป็นกีฬาที่ทำให้ทุกคนมีความสัมพันธที่ดีต่อกัน 
    และยังเป็นการสร้างความสามัคคีกันในทีมอีกด้วย


ผู้จัดทำ 

นาย ศิริวัชร  คุ้มบ้าน  เลขที่5 


นายอภิวัฒน์  ข้อกิ่ง   เลขที่13


นาย พิทยุตม์ พัฒอำพันธ์ เลขที่14



ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2  ปีการศึกษา 2557

โรงเรียน อบจ. เมืองภูเก็ต